สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการจัดตั้งขึ้นให้เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามประกาศจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 โดยการรวมสองหน่วยงานเข้าด้วยกันคือ สถาบันวิทยบริการ และสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาบันวิทยบริการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีฐานะเทียบเท่ากองทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯอย่างเป็นระบบเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากลโดยมีภารกิจหลักในการจัดหาพัฒนาผลิต และจัดระบบการบริการสื่อสารนิเทศทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
สถาบันวิทยบริการได้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 30 กันยายน 2536 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณในชื่อหอสมุดกลาง เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 43 ล้านบาท ลักษณะเป็นอาคาร 5 ชั้น มีพื้นที่รวม 8,000 ตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 5 กันยายน 2538 ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินการขณะที่อาคารก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ สำนักงานเลขานุการศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาและศูนย์ปริทรรศน์ราชมงคล มีสำนักงานอยู่ที่อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ส่วนหอสมุดกลางอาศัยสถานที่ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว การดำเนินการระยะแรกมุ่งเน้นที่หอสมุดกลางเป็นการเตรียมสะสมหนังสือให้มาก ที่สุดเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงงานเป็นหลัก สถาบันวิทยบริการจึงได้เปลี่ยนโครงสร้างตามลักษณะงานที่ปฏิบัติจริงโดย เปลี่ยนจากหอสมุดกลาง ศูนย์ปริทรรศน์ราชมงคล ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาและสำนักเลขานุการ เป็น 5 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายศิลปกรรม ฝ่ายผลิตสื่อการศึกษา และฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีภารกิจ ดังนี้
โครงสร้างการแบ่งกลุ่มงานและภาระงาน
ประวัติสถาบันวิทยบริการ

สถาบันวิทยบริการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีฐานะเทียบเท่ากองทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯอย่างเป็นระบบเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากลโดยมีภารกิจหลักในการจัดหาพัฒนาผลิต และจัดระบบการบริการสื่อสารนิเทศทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
สถาบันวิทยบริการได้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 30 กันยายน 2536 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณในชื่อหอสมุดกลาง เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 43 ล้านบาท ลักษณะเป็นอาคาร 5 ชั้น มีพื้นที่รวม 8,000 ตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 5 กันยายน 2538 ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินการขณะที่อาคารก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ สำนักงานเลขานุการศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาและศูนย์ปริทรรศน์ราชมงคล มีสำนักงานอยู่ที่อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ส่วนหอสมุดกลางอาศัยสถานที่ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นที่ทำการชั่วคราว การดำเนินการระยะแรกมุ่งเน้นที่หอสมุดกลางเป็นการเตรียมสะสมหนังสือให้มาก ที่สุดเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงงานเป็นหลัก สถาบันวิทยบริการจึงได้เปลี่ยนโครงสร้างตามลักษณะงานที่ปฏิบัติจริงโดย เปลี่ยนจากหอสมุดกลาง ศูนย์ปริทรรศน์ราชมงคล ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาและสำนักเลขานุการ เป็น 5 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายศิลปกรรม ฝ่ายผลิตสื่อการศึกษา และฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีภารกิจ ดังนี้
- ดำเนินการจัดหาผลิตและพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศเพื่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
- พัฒนางานด้านต่างๆของสถาบันวิทยบริการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากล
- นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนิน งาน เพื่อส่งเสริมระบบการจัดการและเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารนิเทศอย่างสะดวกและรวดเร็ว
- พัฒนาสถาบันวิทยบริการให้เป็นศูนย์ กลางการให้การศึกษาค้นคว้าการวิจัยและการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและบุคคลทั่วไป
- ผลิตสื่อการศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลด้วยระบบดาวเทียม
- รวบรวมประวัติความเป็นมาและเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสร้างผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของสถาบันบริการ
ประวัติสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับอนุมัติโดยสถาบันฯ ให้จัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้น ในสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2530 โดยให้งบประมาณ ในการดำเนินการครั้งแรกจำนวน 1,148,400 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นแปดพันสี่ร้อยบาทถ้วน) ด้วยงบประมาณผลประโยชน์สะสมของสถาบันฯ ในระยะแรกมีภารกิจในด้านบริการโปรแกรมประยุกต์เพื่อให้ใช้ในการบริหารจัดการภายในสถาบันฯ ต่อมาสภาสถาบันฯได้มองเห็นความสำคัญและบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนา อย่างรวดเร็ว และเพื่อจัดระบบงานไม่ให้ซ้ำซ้อนกันในด้านปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และบุคลากร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้จัดตั้งสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยแยกออกจากสำนักบริการทางวิชาการและทดสอบเมื่อปี 2536 ต่อมาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้แบ่งการบริหารงานออกเป็น 9 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้มอบหมายให้สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องปฏิบัติภารกิจในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารกับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ของมหาวิทยาลัยฯ ให้บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สนับสนุนการปฏิบัติงานตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การบริหาร และการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ภารกิจหลักสามารถสรุปได้ดังนี้- บริการระบบเครือข่ายให้สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนด้านการเรียนการสอนและการบริหารงานของมหาวิทยาลัยฯ
- กำหนดมาตรฐานและจัดหาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รวมทั้งสื่อและซอฟต์แวร์ เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารงานของมหาวิทยาลัยฯ
- พัฒนาฐานข้อมูลกลางและระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยฯ ด้านการเรียนการสอนการบริหาร ของมหาวิทยาลัยฯ
- ให้บริการข้อมูลพื้นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ ผู้บริหาร และบุคคลภายนอก
- ยกระดับบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทุกระดับและทั่วถึง
- สนับสนุนและสร้างผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่องานด้านระบบสารสนเทศ และการพัฒนาโปรแกรม
ประวัติสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนัก วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการจัดตั้งขึ้นให้เป็นหน่วยงานเทียบ เท่าคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 พื้นที่ดำเนินการประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง คือ- อาคารสำนักงานผู้อำนวยการ มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร
- อาคารฝึกอบรม มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร
- อาคารวิทยบริการ มีพื้นที่ขนาด 8,000 ตารางเมตร

- อาคารสำนักงานผู้อำนวยการ (ICT) มีพืันที่ขนาด 807 ตารางเมตร
- อาคารฝึกอบรม มีพื้นที่ขนาด 807 ตารางเมตร
- อาคารวิทยบริการ มีพื้นที่ขนาด 8,000 ตารางเมตร
- ศูนย์บริการความรู้ CKC มีพื้นที่ขนาด 1,100 ตารางเมตร
- อาคาร i Work มีพื้นที่ขนาด 3,632 ตารางเมตร
- อาคารเรียนรวม 13 ชั้น มีพื้นที่ขนาด 22,000 ตารางเมตร
- สำนักงานผู้อำนวยการ
- กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ
- กลุ่มงานบริการสารนิเทศ
- กลุ่มงานเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ
- กลุ่มงานเผยแพร่สื่อการศึกษา
โครงสร้างการแบ่งกลุ่มงานและภาระงาน
ภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี

บุคลากรของสำนักมีจำนวนรวม 78 คน ประกอบด้วย
ผู้บริหาร 3 คน (จากการสรรหา) ข้าราชการ 2 คน พนักงานมหาวิทยาลัย 36 คน พนักงานราชการ 11 คน ลูกจ้างชั่วคราว 25 คนแนวคิดในการพัฒนาหน่วยงาน
สำนัก วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปิดให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2550 ภายใต้วิสัยทัศน์หลักที่จะตอบสนองความต้องการด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ให้กับผู้รับบริการ “For Your ILT (Information Learning Technology) Inspiration” สำนักฯได้มีการขยายและปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการต่างๆให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมทั้งยกเลิกงานบริการบางส่วนซึ่งผู้รับบริการยังมีความเข้าใจผิดบางประการเพราะปัจจุบันขอบเขตงาน ICT เข้าไปเกี่ยวข้องกับงานทุกส่วนซึ่งงานบางอย่างไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักฯภารกิจหลักในปัจจุบันสามารถสรุปได้ดังนี้
- การให้บริการที่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเป็นพื้นฐาน (e-Services) ที่ทันสมัยและเป็นสากล ปัจจุบันสำนักได้ริเริ่มที่จะจัดทำมาตรฐาน ITIL (Information Technology Infrastructure Library) ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับความนิยมในระดับ สากล
- ดำเนินการจัดหา ผลิตและพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศเพื่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
- พัฒนาและจัดหาระบบงาน ฐานข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ
- นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนิน งานเพื่อส่งเสริมระบบการจัดการและเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร สารนิเทศอย่างสะดวกและรวดเร็ว
- พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศให้เป็นศูนย์กลางการให้การศึกษาค้นคว้า การวิจัยและการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและบุคคลทั่วไป
- ผลิตสื่อการศึกษา และพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล
- บริการระบบเครือข่ายให้สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนด้านการเรียนการสอนและการบริหารงานของมหาวิทยาลัยฯ
- กำหนดมาตรฐานและจัดหาคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รวมทั้งสื่อและซอฟต์แวร์ เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารงานของมหาวิทยาลัยฯ
- ให้บริการข้อมูลพื้นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ ผู้บริหาร และบุคคลภายนอก
- ยกระดับบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สนับสนุนและสร้างผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่องานด้านระบบสารสนเทศและการพัฒนาโปรแกรม
ภาพลักษณ์ของ หน่วยงาน
- เป็นศูนย์กลางการให้บริการที่ทันสมัย ครบครัน เช่น การให้บริการด้านโสตทัศนวัสดุ อินเทอร์เน็ต หนังสือสิ่งพิมพ์
- เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- เป็นสถานที่จัดประชุม สัมมนา เป็นจุดนัดพบ
- เป็นศูนย์สารสนเทศ
- เป็นหน่วยงานที่ยกระดับความสามารถของบุคลากรและนักศึกษา
วิสัยทัศน์ (Vision)
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ARIT) ได้กำหนดวิสัยทัศน์จะตอบสนองแรงบันดาลใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียน รู้ “For Your Information Learning Technology (ILT) Inspiration”
พันธกิจ (Mission)
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถตอบสนองต่อการให้บริการที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัยฯผ่านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การตรวจสอบและกำกับการบริหารจัดการโดยใช้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
- พัฒนางานระบบการให้บริการให้สอดรับกับความต้องการของผู้รับบริการผ่านช่องทางที่เหมาะสมต่อผู้รับ บริการและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้รับบริการและทั้งด้านการเรียนรู้ บริหารจัดการและการประสานงาน
- พัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯให้มีความสามารถและความรู้สอดรับกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการให้บริการ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและการบริหารจัดการในภาครัฐ
- พัฒนาระบบงานภายในให้สามารถให้บริการทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใสและใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร
- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องไม่ละเมิดจริยธรรมอันดี และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นรูปธรรมและจัดให้สำนักฯเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ มีความพร้อมในการให้บริการชุมชน และสังคม