ฐานข้อมูล Turnitin เป็นฐานข้อมูลที่ช่วยในเรื่องการตรวจสอบและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์สิ่งพิมพ์ออนไลน์ การใช้บริการฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบรายงานต้นฉบับจึงเป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบการลอกเลียนผลงานให้กับนักศึกษา นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี เพราะจะช่วยยืนยันเนื้อหาของรายงานว่าเป็นเนื้อหาที่จัดเตรียมขึ้นเองและไม่ได้เป็นการลดการละเมิดสิทธิ์ในข้อมูลของผู้อื่น
เข้าใช้งานฐานข้อมูล
การใช้งานของผู้สอน (Instructor)
ผู้ใช้งานสามารถขอสมัครสมาชิกผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ เพื่อสร้าง Class ID ในการส่งผลงานนักศึกษาหรือของท่านขึ้นตรวจได้ด้วยตนเอง (สำหรับอาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ)
ผู้ใช้ที่เป็นผู้สอนจะสามารถมีสถานะได้ 2 สถานะ คือ ผู้สอน (Instructor) และนักเรียน (Student)
ผู้ใช้งานสามารถสร้างห้องเรียน (Class) ได้ 2 ประเภท คือ ห้องเรียนมาตรฐาน (Standard Class) เป็นห้องเรียนที่มีคนดูแลเพียงคนเดียว และห้องเรียนพิเศษ (Master Class) สามารถกำหนดผู้ช่วยสอน (TA) ได้
ผู้ใช้งานสามารถนำผลงานของนักศึกษาหรือของตัวเองเพื่อตรวจสอบการคัดลอกผลงานตามประเภทการบ้าน (Assignment) ที่ต้องการนำขึ้นตรวจสอบ
ผู้ใช้งานสามารถดูรายงานต้นฉบับทั้งหมดของเนื้อหาเพื่อดูผลดัชนีความคล้ายคลึง ค่าเปอร์เซ็นต์การซ้ำของเนื้อหา และแหล่งข้อมูลซ้ำในรายงานต้นฉบับได้
สมัครสมาชิกและดูคู่มือการใช้งาน
การใช้งานของนักศึกษา (Student)
ผู้ใช้งานสามารถขอใช้งานฐานข้อมูล Turnitin ภายใต้ Class ID ของห้องสมุด เพื่อส่งตรวจผลงานด้วยตนเอง สามารถติดต่อขอสมัครสมาชิกในการเข้าใช้งานได้ โดยการกรอกแบบฟอร์มสมัครสมาชิกออนไลน์ (สำหรับนักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ) พร้อมส่งหลักฐานการเป็นนักศึกษาหรือบุคลากรมาทาง LINE ID: @261pxuhc หรือคลิก https://lin.ee/h0kFePK
ผู้ใช้งานสามารถนำผลงานเข้าตรวจสอบการคัดลอกผลงานตามห้องเรียน (Class) และการบ้าน (Assignment) ที่ต้องการตามขั้นตอนการส่งการบ้านขึ้นตรวจสอบ
ผู้ใช้งานสามารถดูรายงานต้นฉบับทั้งหมดของเนื้อหาเพื่อดูผลดัชนีความคล้ายคลึง ค่าเปอร์เซ็นต์การซ้ำของเนื้อหา และแหล่งข้อมูลซ้ำในรายงานต้นฉบับได้
สมัครสมาชิกและดูคู่มือการใช้งาน
การดูรายงานต้นฉบับ (Originality Report)

I
สิ่งที่ควรรู้ก่อนการใช้งาน
ผู้ใช้งานต้องทำการสมัครสมาชิกก่อนเข้าใช้งานฐานข้อมูล
การส่งผลงานขึ้นตรวจสอบการคัดลอกผลงานบนฐานข้อมูลเป็นการให้บริการในรูปแบบออนไลน์ สามารถส่งผลงานขึ้นตรวจได้ครั้งละ 1 ไฟล์ ต่อ 1 การบ้าน (Assignment) หากผู้ใช้งานต้องการอัพโหลดไฟล์ เข้าตรวจซ้ำใหม่ ใน Assignment เดิม ซึ่งการส่งงานไฟล์ผ่านปุ่ม Resubmit สามารถส่งไฟล์เข้าตรวจซ้ำได้ จนกว่าจะถึงวันครบอายุ (Due date) ของ Assignment การส่งไฟล์งานเพื่อตรวจซ้ำใหม่นี้ใน 3 ครั้งแรก Turnitin จะสร้างรายงานผลการตรวจความซ้ำให้โดยทันที แต่หากการส่งไฟล์งาน ตั้งแต่ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป รายงานผลการตรวจความซ้ำซ้อน จะออกล่าช้า 24 ชั่วโมง
การส่งผลงานขึ้นตรวจสอบการคัดลอกผลงานสามารถตรวจสอบได้ทั้งผลงานที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวมถึงภาษาอื่น ๆ
การส่งผลงานขึ้นตรวจสอบสามารถเลือกประเภทรูปแบบไฟล์ได้ ซึ่งมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่
- สำหรับอาจารย์ สามารถส่งผลงานได้ทั้งหมด 4 รูปแบบ
- การอัปโหลดไฟล์เดียว (Single File Upload)
- การอัปโหลดไฟล์หลายไฟล์ (Multiple File Upload)
- การอัปโหลดการตัดและวางข้อความ (Cut & Paste Upload)
- การอัปโหลดไฟล์บีบอัด (Zip File Upload)
- สำหรับนักศึกษา สามารถส่งผลงานได้ทั้งหมด 2 รูปแบบ
- การอัปโหลดไฟล์เดียว (Single File Upload)
- การอัปโหลดการตัดและวางข้อความ (Cut & Paste Upload)
ข้อกำหนดสำหรับการอัปโหลดไฟล์เดียว
- ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 100 MB
- ไฟล์ต้องมีข้อความอย่างน้อย 20 คำ
- ความยาวกระดาษสูงสุด คือ 800 หน้า
- ประเภทไฟล์ที่อนุญาต : Microsoft Word, Excel, PowerPoint, WordPerfect, PostScript, PDF, HTML, RTF, OpenOffice (ODT), Hangul (HWP), Google Docs และข้อความธรรมดา
ข้อกำหนดสำหรับการอัปโหลดไฟล์หลายไฟล์
- แต่ละไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 100 MB
- ไฟล์ต้องมีข้อความอย่างน้อย 20 คำ
- ความยาวกระดาษสูงสุดสำหรับแต่ละไฟล์ คือ 400 หน้า
- ประเภทไฟล์ที่อนุญาต : Microsoft Word, PowerPoint, WordPerfect, PostScript, PDF, HTML, RTF, OpenOffice (ODT), Hangul (HWP), Google Docs และข้อความธรรมดา
ข้อกำหนดสำหรับการอัปโหลดไฟล์ zip
- สามารถบรรจุได้สูงสุด 1,000 เอกสาร
- ไฟล์ zip ต้องน้อยกว่า 200 MB
- แต่ละไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 100 MB
- ไฟล์แต่ละไฟล์ต้องมีข้อความอย่างน้อย 20 คำ
- ความยาวกระดาษสูงสุดสำหรับแต่ละไฟล์ คือ 400 หน้าต่อไฟล์
- ประเภทไฟล์ที่อนุญาต : Microsoft Word, Excel, PowerPoint, WordPerfect, PostScript, PDF, HTML, RTF, OpenOffice (ODT), Hangul (HWP), Google Docs และข้อความธรรมดา
I
ทริคความรู้
กรณีผู้ใช้งานนำผลงานขึ้นตรวจสอบและพบว่าข้อมูลเนื้อหาบางส่วนหรือบางประโยคมีจำนวนการเทียบซ้ำในระดับเปอร์เซ็นต์ที่ค่อยข้างสูง ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มเติมคำเชื่อมประโยค เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเข้าไปในเนื้อหานั้น ๆ แต่ให้คงซึ่งไว้ของความหมายเดิมของเนื้อหาเหล่านั้น เมื่อนำผลงานขึ้นตรวจสอบใหม่อีกครั้งจะช่วยทำให้ระดับเปอร์เซ็นต์ลดลงได้ แต่ระดับดัชนีเปอร์เซ็นต์จะลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับแก้เนื้อหาในส่วนที่มีการซ้ำซ้อนของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน
บริการโดย : ฝ่ายพัฒนาสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี
Post Views: 3,793